Saturday, 10 November 2012

พระกฐินพระราชทาน 2555


 
วัดไตรธรรมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ดังนั้นผ้ากฐินทานที่ถวายพระสงฆ์จำพรรษากาลถ้วนไตรมาส ณ พระอารามหลวงนั้น ๆ ก็เรียกว่า พระกฐินหลวง

นอกเหนือจากพระอารามหลวงสำคัญ ๆ จำนวน ๑๖ พระอารามแล้วจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขอพระราชทานผ้าพระกฐิน หรือขอจองพระกฐินหลวงแก่พระอารามหลวงอื่นๆไว้ล่วงหน้าได้ โดยกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้ดำเนินการขอพระราชทานผ้าพระกฐินให้แก่ผู้แสดงความจำนงขอพระราชทานผ้าพระกฐิน จัดเป็นพระกฐินหลวงประเภทพระกฐินพระราชทาน

ทุกๆปีวัดจึงได้มีกำหนดการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน โดยมีพิธีสมโภชผ้ากฐินพระราชทาน โดยคณะเจ้าภาพนำพุ่มกฐินมาร่วมพิธีสมโภช ปีนี้ตรงกับวันวันเสาร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน โดยชมรมน้ำใสใจจริง จากจังหวัดสุราษฎร์ธานีและคณะผู้ศรัทธาจากประจวบคีรีขันธ์ และพัทลุง มีนายวิญญู ทองสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงเป็นประธาน

 
อนุโมทนาบุญผ่านภาพเหล่านี้กันนะคะ

 
 

วันศุกร์ที่ ๙ เวลา ๑๙.๐๐ น. พิธีสมโภชผ้ากฐินพระราชทาน
โดยคณะเจ้าภาพนำพุ่มกฐินมาร่วมพิธีสมโภช

 
 



พระเทพสุธี เจ้าอาวาส และเจ้าคณะภาค ๑๖ และผู้เข้าร่วมสมโภชพระกฐิน






 

 
 
 
 

 
ล่าง: วันเสาร์ที่ ๑๐
เวลา ๑๐.๐๐ น. นายวิญญู ทองสกุล ประธานในพิธี เดินทางถึงบริเวณพิธี หน้าพระอุโบสถ
- ประธานถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานเข้าสู่พระอุโบสถ
 
 
 




ประธานฯ ถวายเครื่องพระกฐินฯ

กรวดน้ำ 
 
 
 
 
พุทธศาสนิกชนร่วมกันถวายปัจจัยและรับหนังสือที่ระลึกจากพระเทพสุธี
 
 
 
หลังเสร็จพิธี รองพัทธนันธ์ และคุณปรีดา ผอ.สนง .พระพุทธศาสนา ถวายหนังสือที่แปลจากอักขระโบราณที่จารึกในไทยให้เป็นภาษาไทย ที่ได้จากมูลนิธิภูมิภโลภิกขุ
 
 



ท้ายสุดก็เป็นการนับปัจจัยทั้งหมดจากจนท.ธนาคาร และคณะกรรมการวัด
 ช่วยกันคนละไม้ละมือ
 
 
 
 
 
 

Thursday, 8 November 2012

อย่ายอมให้ชั่วครอบงำ-ความเข้มแข็งของคนดี



ชอบมาก  touch my heart !!......ชอบอย่างเดียวไม่พอ ต้องทำให้ได้ด้วย ..
เราทำได้...meepole
 
"...คนดีทำให้คนอื่นดีได้ หมายความว่าคนดี ทำให้เกิดความดีในสังคม คนอื่นก็ดีไปด้วย. ความเลวนั้นจะทำให้คนดีเป็นคนเลวก็ยาก แต่เป็นไปได้.
ถ้าคนดีเข้มแข็งในความดี จะทำให้คนเลวมาทำให้คนดีเป็นคนเลวยาก.สำคัญอยู่ที่ความเข้มแข็งของคนดี..."

...A good person can make another person good; it means that goodness will elicit goodness in society; other person will also be good.
Evil will make a steadfast good person bad only with great difficulty; however, it is not impossible.
 If good people hold on tenaciously to their goodness, it will be difficult for evil people to influence them. The important thing is the strong will of the good person...
         
คัดตัดตอนจากพระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันพุธที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙



Monday, 5 November 2012

จิตอิสระ...ก็เหนือทุกข์



บทความ คำกล่าว ข้างล่างนี้หากได้อ่านและทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง แล้วลองทำดู หากทำได้ยิ่งมาก ก็จะยิ่งเบา ค่อยๆ ลองทำดูนะคะ

.....ที่กล่าวว่า “ไม่มีอะไรเป็นตัวเรา หรือ ของเรา” นั้น มิได้หมายความว่า เราไม่มีอะไร หรือ ไม่รับอะไร ไม่ใช้สอยบริโภคสิ่งใด เพราะเราคงมีอะไร หรือบริโภคใช้สอยสิ่งใดๆ ไปตามที่สมควรจะมีจะเป็น แต่ภายในใจนั้นไม่มีการยึดถือว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นตัวตนของมันหรือของใครเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อจะให้ได้รับความเย็นใจ เบากายเบาใจอยู่ตลอดเวลานั่นเองเรียกว่า เรารับมันไว้เพื่อมาเป็นบ่าวเป็นทาสเรา เพื่ออำนวยความสะดวกสบายเท่าที่จำเป็น ไม่ยอมรับรู้อะไรมากไปกว่านั้น ความมีจึงมีค่าเท่ากับไม่มี หรือความไม่มีจึงมีค่าเท่ากับมี แต่ความสำคัญส่วนใหญ่นั้น เราจะมีจิตใจที่ไม่หวั่นไหว ไม่ทุกข์ร้อน หรือลิงโลดไปเพราะการได้การเสีย จิตใจชนิดนี้ ไม่ต้องการที่จะรับ และไม่ต้องการที่จะปฏิเสธ จึงสงบเป็นปกติอยู่ได้

พุทธศาสนาสอนให้เรามีจิตใจอย่างนี้ คือให้มีจิตใจเป็นอิสระอยู่เหนือวิสัยชาวโลก ไม่หวั่นไหวไปตามสถานการณ์ทุกอย่างในโลก จึงอยู่เหนือความทุกข์ทุกอย่าง ทั้งในการคิด การพูด การทำ เพราะมีจิตใจเป็นอิสระจากกิเลสนั่นเอง จริงอยู่ พุทธศาสนาปฏิเสธว่า ไม่มีอะไรที่ควรสนใจ หรือควรได้ แต่ก็ยอมรับว่า สิ่งที่ควรสนใจหรือควรได้นั้น มีอยู่โดยแน่นอน สิ่งนั้นก็คือ ภาวะแห่งไม่มีทุกข์เลย เป็นภาวะที่เกิดจากความไม่ยึดมั่นถือมั่นต่อสิ่งใดๆ ทั้งหมดทั้งสิ้นว่า เป็นตัวเราหรือของเรา ไม่ยึดมั่นแม้กระทั่งชีวิต เกียรติยศ ชื่อเสียง หรืออะไรๆ ทั้งสิ้น ที่คนทั่วไปเขายึดถือกัน คือจิตใจเป็นอิสระเหนือสิ่งทั้งปวง เราเรียกว่าสิ่งนี้อย่างสั้นๆ ว่า ความหลุดพ้น เมื่อถามว่าหลุดพ้นจากอะไร ก็ต้องตอบว่า จากทุกสิ่งที่ครอบงำจิต หรือ ทำจิตให้เป็นอิสระ

ดังนั้นถ้าเรายังมีการยึดมั่นถือมั่นทางจิตใจ ก็ยังไม่พ้นจากความทุกข์ สิ่งที่เรียกว่า "ตัวเรา-ของเรา" นั่นแหละเป็นบ่วงทุกข์ ที่คล้องหรือร้อยรัดผูกพันเราทั้งหลายอยู่ ถ้าเราตัดบ่วงนี้ให้ขาดไม่ได้อยู่เพียงใด เราก็จะต้องเป็นทุกข์อยู่เรื่อยไป
 ลองคิดตรองเลือกดู ที่จะเกิดมาทั้งทีจะให้ทุกข์ตลอดชีวิตหรือจะลองฝึกปฎิบัติให้จิตเป็นอิสระเหนือสิ่งทั้งปวง แล้วความสุขที่สงบอยู่ไม่ไกลเลย ลองค่อยๆละ ลด การยึดมั่นถือมั่น กันนะคะ แล้วจะอยู่เหนือทุกข์จริงๆค่ะ :)

ที่มา: จาก หนังสือ ตัวกู-ของกู พุทธทาสภิกขุ ฉบับย่อ