Sunday, 18 March 2012

อย่า..งมงายในวิทยาศาสตร์


by meepole
คำกล่าว ตามชื่อเรื่องข้างต้นกำลังเป็นประเด็นร้อนทั่วโลกอินเทอร์เน็ต (ข่าวว่าเช่นนั้น) มีที่มาที่ไปอ่านได้จาก http://hilight.kapook.com/view/68861  (ควรอ่านก่อน) แต่เรื่องนี้ไม่ไช่ประเด็นหลักที่ meepole จะวิพากษ์วิจารณ์ (เดี๋ยวจะหาว่าเกาะกระแส)  เพราะบางเรื่องบางเรื่องควรต้องรู้เสมอกันจึงถกประเด็นกันได้ เพราะต้องอิง ความรู้ ความเข้าใจ เหตุผล หาไม่แล้วทะเลาะกันไปก็ไม่เกิดปัญญาขึ้น ขุ่นมัวกันไปเปล่าๆ และบางเรื่องต้องใช้ระยะเวลา ไปเถียงทันที ไม่มีอะไรดีขึ้น คนดีๆเสียความเชื่อถือก็มากมาย เพราะออกมา ผิดสถานที่ ผิดเวลา และ/หรือพูดด้วยความหลงตน แม้ภายหลังออกมาพูดเรื่องถูกต้องก็มีเฉพาะคนฟังที่มีปัญญาเสมอกันจึงเชื่อ สังคมยุคนี้จึงค่อนข้างเปราะ เบา

meepole ในฐานะเป็นนักวิทยาศาสตร์ อันนี้เพราะเรียนและวิจัยค้นคว้าในสาขานี้มาโดยตลอด สามารถยืนยันได้ว่าการค้นคว้า ค้นพบทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนความรู้ต่างๆมากมายที่เกิดขึ้น ต้องพึ่งเทคโนโลยี ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ นำมาซึ่งการค้นพบเทคโนโลยี มีเทคโนโลยีก็สามารถนำไปสู่ความรู้ใหม่ต่อยอดได้เรื่อยๆ  ต่างตอบแทนว่างั้นเถอะ ที่เห็นชัดคือปัจจุบันเราก้าวสู่ยุคของนาโนเทคโนโลยี เป็นขนาดที่เล็กมากจนต้องใช้อุปกรณ์พิเศษใหม่หมดในการศึกษา ในอดีตหลายสิบปีที่แล้วไม่มีใครมองเห็นในระดับนั้นได้ และหากใครพูดถึงสิ่งที่ไม่เห็นในยุคโน้นก็จะถูกมองว่า "เพี้ยน" เรียกให้ดูดีถนอมน้ำใจก็ว่า " สติเฟื่อง" (เกือบฟั่นเฟือน) แต่พูดเรื่องเดียวกันนั้นในตอนนี้ กลับเป็นเรื่องโดดเด่น ค้นพบใหม่ เชื่อถือ เพียงเพราะมีเครื่องมือพิสูจน์  จริงๆแล้วอะไรที่ "มีอยู่" (exist) คือ "มีจริง" เราจะพบเห็นได้หรือไม่ต้องรอเวลา  อะไรที่ "ไม่มี" (non-exist) ยังไงๆก็ ไม่พบ เพราะไม่เคยมี

แม้ปัจจุบันก็เถอะ เชื้อโรค จุลินทรีย์ต่างๆ ไวรัสที่เล็กมาก.......
พูดให้บางกลุ่มฟัง ไม่ต้องเอากล้องมาส่องพิสูจน์ ก็เชื่อ เพราะเชื่อมั่นในคนพูด ว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ เป็นหมอ ที่เรียนมาโดยตรง เคยเห็นแน่นอน   (ไม่ไช่เพราะไร้ปัญญา)
แต่บางกลุ่มต้องเอากล้องจุลทรรศน์มาส่องให้ดูจึงเชื่อ
บางกลุ่มดูในกล้องเห็นแล้วก็ไม่เชื่ออีก หาว่าแสดงกล ไปโน่น

 นานาจิตตัง !!

ดังนั้น ความคิดแบบโยนิโสมนสิการ คือ คิดถูกวิธี คิดมีระเบียบ คิดมีเหตุผล คิดเร้ากุศล ( พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), ๒๕๔๖)  ต้องนำมาใช้ เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องฝึก ต้องมี (ให้มากขึ้นๆ) ในยุคปัจจุบันและอนาคต  หากมีเช่นนี้แล้ว การคิด การพูด  การปฏิบัติที่เกิดก็จะเป็นวิถีทางแห่งปัญญา เป็นธรรม สำหรับกลั่นกรองแยกแยะข้อมูลหรือแหล่งข่าวหรือที่เรียก "ปรโตโฆสะ" อีกชั้นหนึ่ง และเป็นบ่อเกิดแห่งความคิดชอบหรือ "สัมมาทิฐิ" ทำให้มีเหตุผล และไม่งมงาย  เป็นคนมีศาสนา
หมายเหตุ: ปรโตโฆสะ   คือการเรียนรู้จากแหล่งอื่น (learning from others) ได้แก่ การรับฟังคำแนะนำสั่งสอนเล่าเรียน หาความรู้ สนทนาซักถาม ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น โดยเฉพาะการสดับสัทธรรมจากผู้เป็นกัลยาณมิตร
เหมือนข้อคิดจากหนังสือเรื่องสิทธารถะ ที่กล่าวไว้ว่า

"ความรู้ถ่ายทอดให้กันได้ ปัญญาเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดหรือสอนกันไม่ได้  ต้องค้นพบด้วยตัวเองเท่านั้น"

อ้างอิง
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (๒๕๔๖). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ของแถม  จาก http://th.wikipedia.org ลองคิดตามค่ะ

" ....โดยทั่วไปเราถือกันว่า วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มต้นในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ โดยมี "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่" คือ กาลิเลโอ กาลิเลอี เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป. ณ ขณะนั้น กาลิเลโอได้กำหนดลักษณะสำคัญของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไว้ดังนี้
  • ทำนายสิ่งที่เกิดขึ้นในปรากฏการณ์ธรรมชาติได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องอธิบายสาเหตุได้  เช่น ในขณะที่ยังไม่มีความรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงนั้น กาลิเลโอไม่สนใจที่จะอธิบายว่า "ทำไมวัตถุถึงตกลงสู่พื้นดิน ?" แต่สนใจคำถามที่ว่า "เมื่อมันตกแล้ว มันจะถึงพื้นภายในเวลาเท่าใด ?"
แต่คนเรามักติดยึด ที่จะหาคำตอบของกะพี้ เป็นส่วนใหญ่ มันเลยไม่ได้อะไร ชิมิ ชิมิ :)