Tuesday, 10 May 2011

social network กับ ภาพลวงตา ที่ต้องระวัง

social network  กับ ภาพลวงตา ที่ต้องระวัง

ภาพ: เปลือกโดย meepole

บังเอิญจริงๆได้เข้าไปในที่แห่งหนึ่ง ไปแตะตาด้วยหัวเรื่องที่ คนสร้างภาพ คนหนึ่งเขียนตั้งไว้แล้วดูดี เพราะเกี่ยวกับ มุมมองของ social network หากแต่สิ่งที่ได้อ่านไม่ไช่สิ่งที่คิดไว้ว่าน่าจะได้ประโยชน์ในแง่ความคิดสร้างสรรค์ แต่ก็กลับได้สิ่งที่สังคมทั่วไปชอบ คือคำพูดที่อ่านแล้วให้ความรู้สึกว่าสะใจ  ใช้จิตวิทยาขั้นพื้นฐาน  คนเขียนเป็นคนเข้าใจจุดอ่อนของสังคมกลุ่มนั้น เหตุที่สนใจสิ่งที่เขาเขียนเพราะได้เคยเห็นจากข้อเขียนที่ ดูเหมือนสะท้อนตัวตนที่ตรงกันข้าม และขัดแย้ง ของคนผู้นั้นในหลายครั้ง ..
ดังนั้นในการเข้าร่วมสังคมแบบนี้จึงต้องใช้ สติและปัญญา ในการพิจารณาคนด้วย อย่าเชื่อเพียงเพราะอ่านตัวอักษร หรือรู้ตัวตนเพียงแค่ผ่านผิว ทุกอย่างต้องใช้เวลา แต่หากเราสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วว่าสังคม virtual  นั้นๆอยู่แล้ววุ่นวายหนอ หรือ มันไม่ต่างจากชุมชนคนจริงๆ ล่ะก็ ออกมาเถอะ! อย่าไปเสียเวลากับมันเลย ในเมื่อโลกจริงๆเราสามารถเลือกได้ เลือกที่จะอยู่และเลือกที่จะเป็น และมีดีที่จะเลือกสังคมดีๆอีกมากมาย แล้วสังคมจำลองเสมือนเหล่านั้นก็ไม่แตกต่างที่มีคนสมมุติบทบาทตัวเองขึ้นมาให้เป็นผู้โดดเด่นในด้านต่างๆ การเข้าไปร่วมในสังคมเช่นนั้นจึงต้องมีสติเป็นตัวกำกับ

ฉันได้เห็นประโยคหนึ่งที่ "คนสร้างภาพ" คนนี้เคยเขียนแล้ว meepole ก็ชอบคือ การ "เตือนให้รู้จักระวังตัว ที่จะไม่หลอกตัวเอง เพราะเสียหายกว่าที่ถูกผู้อื่นหลอก "  (แต่ที่ฉันกลัวคือ คนที่สร้างภาพหลอกผู้อื่นมากกว่า อันนี้น่ากลัวกว่าผี บรื๋อ!!)  แต่ meepole คิดต่อไปว่าในสังคมยุคนี้มีคนแอบจิตมาก จนไม่รู้ตัวเองว่ากำลังหลอกใคร  แสร้งดี จนสับสน (แต่ก็คิดว่า ดีกว่าทำเลว)  มีความขัดแย้งในตัวเอง (contradict) ตลอดเวลา บางคนคุยคิดจะสร้าง model ที่มีความสุขให้ใครต่อใคร แต่จะทำได้อย่างไร ในเมื่อจิตของตนเองยังเสาะแสวงหาเพื่อตัวเอง ดิ้นรนไม่สิ้นสุด หาจุดยืนจนสับสน ออกหาสังคมเพื่อเจาะคนที่มีความต้องการที่ตรงกัน หรือแลกเปลี่ยนแบบลิงผลัดกันเกาหลัง หรือไม่ก็เขียนเพื่อแสดงความเป็น ครูที่ทำเพื่อเด็ก ก็น่าห่วงว่าหลายคนอ่านแล้วจะเลียนแบบโดยไม่ใช้วิจารณญาณ แล้วนึกว่าไช่เลย (เพราะเด็กจะกลายเป็นกระได หรือไม่ก็ไขควง ของครูคนนั้นไป)



..แต่ที่อันตรายคือ คนที่เห็นเขาต่างหาก สับสนด้วยหรือไม่  สับสนยกย่องว่าเป็นคนดี  สับสนคิดว่าเป็นผู้นำทางความคิด สับสนว่าเป็นอะไรที่ใช่เลย.....!  สังคมเราทิ้งปัญหาสะสมไว้มาก เพราะคนดีในยุดนี้หาได้ง่าย ทำตัวเด่นดัง ก่อตั้งอะไรสักอย่าง ออกสื่อให้บ่อย หากินกับเด็กก็ได้ คนชรา ก็ดี  คนดีเฉพาะกิจได้รับการยกย่องโดยดูเพียงที่เห็นต่อหน้า  เมื่อ "ดี" นั้นไม่จริง (fake) จึงเกิดความสับสนในเรื่องของ คนดี และ ความดี   หรือ ปูชนียบุคคล ตามมา เมื่อตัวตนถูกเปิดเผย ก็กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เห็นมาหลายตัวอย่างในสังคมเรา  ดังนั้น การยกย่องใคร การสนับสนุนใคร ใน social network  ที่สามารถแพร่ขยายออกไปรวดเร็วและกว้างขวาง จึงเป็นเรื่อง "ดาบสองคม" จริงๆ   เหมือนความคิดที่ "คนสร้างภาพ" ได้เขียนไว้มีความหมายว่า

“..มีข้อมูลมาก แต่หาปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้องแทบไม่พบ และอาจถูกตำหนิว่า เป็นพวกมีความรู้ แต่ไม่มีการศึกษา          แต่ meepole กลัว "คนมีการศึกษา ที่ไม่มีความรู้" มากกว่า    เพราะจะกลายเป็น ฅนลวงโลก ไม่ใช่ ฅนขวางโลก  คิ  คิ


ที่มาภาพ: mydvd4u.com